วันเสาร์ที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2552

LEGO Mindstorms NXT




LEGO Mindstorms NXT ของเล่นเด็กจาก LEGO
แทบไม่อยากจะคิด ว่าถ้าเด็กรุ่นนี้เค้าเล่นตุ๊กตา หุ่นยนต์ LEGO Mindstorms NXT หุ่นยนต์อัจฉริยะรุ่นล่าสุดของเลโก้ แล้วเด็กเหล่านี้โตขึ้นเป็นผู้ใหญ่ในวันข้างหน้าที่เป็นแรงงานของชาติ เป็นทรัพยากรสำคัญที่พัฒนาประเทศชาติ ประเทศไทยของเราจะเป็นอย่างไรบ้างหนอ เราจะเป็นชาติมหาอำนาจไหม? คนไทยจะเป็นชาติแรกไหมที่สามารถผลิตหุ่นยนต์แรงงานที่ทำงานแทนคน แล้วสามารถผลิตเป็นอุตสาหกรรมหลัก เหมือนกับที่เราเป็นฐานการผลิตรถยนต์ไหม? หรือทั้งหมดนี่จะเป็นเพียงแค่ความฝัน เด็กวันนี้ เป็นคำตอบของวันข้างหน้า คุณ!! คือผู้ชี้ทางเดินให้เด็กเหล่านั้น ส่วนเค้าจะเดินไปได้ไกลขนาดไหน มันก็สุดแท้แล้วแต่

บ่นมาซะยาว จริงๆแล้ว วันนี้จะเขียน review เจ้าหุ่นยนต์ของบริษัทเลโก้ ซักหน่อย ก็มาเข้าเรื่องกันเลย เรามักจะคุ้นเคยกับของเล่นเลโก้ที่เป็นตัวต่อ พลาสติก ที่นำมาต่อๆ กันเป็นเมือง เป็นโครงสร้าง หรือเป็นอะไรก็แล้วแต่จินตนาการ แต่ในปัจจุบัน เลโก้ไม่เพียงแต่ทำตัวต่อพลาสติกธรรมดาๆ เท่านั้น เลโก้ยังได้พัฒนาหุ่นเยนต์ที่เป็นของเล่นเด็กขึ้นมา
เจ้าหุ่นยนต์ตัวนี้ ชื่อ Alpha Rex เป็นหุ่นยนต์ชนิด Humanoid (หมายถึงหุ่นยนต์ที่มีท่าทางคล้ายมนุษย์) เจ้าตัวนี้ทำอะไรได้บ้าง มาว่ากันเลย
เจ้า Alpha Rex ตัวนี้สามารถทำหน้าที่ได้เหมือนกับหุ่นยนต์ในปัจจุบันเท่าที่จะทำได้ สามารถเดินได้สองขาเหมือนกับคน โดยอาศัยมอเตอร์เซอร์โวมอเตอร์ที่อยู่ที่ขาของมันเป็นตัวขับเคลื่อนกำลัง แล้วด้วยUltrasonic Sensor จึงทำให้เจ้า Alpha Rex สามารถที่จะ(เสมือน)มองเห็นคุณได้ และทำให้มันเคลื่อนที่ไปยังตำแหน่งต่างที่คุณต้องการได้อย่างแม่นยำ ด้วยเซนเซอร์ที่ติดอยู่ตามตัวของเจ้า Alpha Rex จึงทำให้

มันมองเห็นได้ (เพราะ Ultrasonic Sensor )
มันได้ยิน (เพราะ Sound Sensor)
มันเดินได้ (เพราะ Servo Motors 2 ตัว)
มันพูดได้ (เพราะลำโพง และโปรแกรมสร้างเสียง NXT )
มันรู้สึกได้ (เพราะ Touch Sensors และ Light Sensors )

ด้วยโปรเซสเซอร์ 32 บิต และยังสามารถติดต่อผ่านบลูธูทได้อีกด้วย
คุณลักษณะที่สำคัญ

  • ทำงานที่ระดับ 32 บิต มีจอ LCD ขนาดใหญ่อยู่ตรงกลาง สามารถติดต่อผ่าน USB 2.0 ได้ และยังสามารถติดต่อกับอุปกรณ์รอบๆได้โดยผ่านการติดต่อไร้สายประเภท Bluetooth
  • ประกอบด้วย touch and light sensors, new sound sensor and ultrasonic sensor
  • ส่วนของโปรแกรมใช้งานง่าย โดยทำการลากวาง ลากวาง ก็สามารถโปรแกรมได้แล้ว
  • มีมอเตอร์ 3 ตัว เพื่อการทำงานที่ราบเรียบ และสามารถทำงานได้น่าเชื่อถือ

ภายในกล่องบบรจุด้วย

  • ชิ้นส่วน 577 ชิ้น
  • คู่มือแบบรวบรัด ที่สามารถให้คุณสร้างหุ่นยนต์ให้พร้อมทำงานได้ภายใน 30 นาที (ไม่เชื่อก็ลองดู)
  • หน้าปัดทดสอบ

ด้วยส่วนประกอบที่พร้อมและ sensors ที่เหมาะและจำเป็นสำหรับขั้นพื้นฐานของหุ่นยนต์ เจ้า Alpha Rex จึงเป็นของเล่นที่พัฒนานำไปสู่การเรียนรู้และการใช้เทคโนโลยีในการใช้งานหุ่นยนต์ และเรียนรู้การเขียนโปรแกรมควบคุมหุ่นยนต์ LEO Mindstorms จึงเหมาะสำหรับเด็กอายุ 12 ปีขึ้นไป ที่ต้องการเรียนรู้วิธีคิดและการแก้ปัญหาในด้าน อิเลกโทรนิกส์ คอมพิวเตอร์ คณิตศาสตร์



โป่งน้ำร้อนนครฝาง






ตั้งอยู่ในเขต อุทยานแห่งชาติแม่ฝาง เป็นบ่อน้ำร้อนธรรมชาติเกิดจากความร้อนใต้ดิน มีไอร้อนคุกรุ่นอยู่ตลอดเวลา อุณหภูมิของน้ำประมาณ 40-88 องศาเซสเซียล มีจำนวนมากมายหลายบ่อในพื้นที่ประมาณ 10 ไร่ (บ่อใหญ่มีไอน้ำร้อนพุ่งขึ้นสูงถึง 40-50 เมตร) อุทยานแห่งชาติได้จัดบริการห้องอาบน้ำแร่และอบไอน้ำ บ่อน้ำร้อนจะอยู่ก่อนถึงที่ทำการอุทยานแห่งชาติเล็กน้อย และทางอุทยานแห่งชาติได้จัดให้มีเส้นทางศึกษาธรรมชาติขึ้นเขาผ่าป่าเบญจพรรณมาถึงบ่อน้ำร้อน ระยะทางประมาณ 1.2 กิโลเมตร
กิจกรรม - อาบน้ำแร่ - ชมทิวทัศน์

แผนการสอนสมบัติของจำนวนนับ

แผนการจัดการเรียนรู้

กลุ่มสาระการเรียนรู้......คณิตศาสตร์..... รายวิชา......คณิตศาสตร์พื้นฐาน.....รหัสวิชา.....ค 21101...

แผนการจัดการเรียนรู้ที่ ..3...หน่วยการเรียนรู้ที่...2.....เรื่อง......สมบัติของจำนวนนับ.....

จำนวน...2....คาบ ระดับชั้น......ม.1......ภาคเรียนที่...1.. ปีการศึกษา 2552.......

1. มาตรฐานการเรียนรู้

มาตรฐาน ค 1.4 เข้าใจในระบบจำนวนและนำสมบัติจำนวนเต็มไปใช้

2. ตัวชี้วัด

1.4 ม.1/1 นำความรู้เกี่ยวกับสมบัติจำนวนเต็มไปใช้ในการแก้ปัญหา

3. สาระสำคัญ

ตัวหารร่วมมาก (ห.ร.ม.) และตัวคูณร่วมน้อย (ค.ร.น.) เป็นสมบัติเกี่ยวกับจำนวนเต็มที่สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการแก้ปัญหาได้อย่างหลากหลาย

4. สาระการเรียนรู้

สมบัติของจำนวนนับ

1. ตัวหารร่วมมากและการนำไปใช้

2. ตัวคูณร่วมน้อยและการนำไปใช้

5. จุดประสงค์การเรียนรู้

เมื่อนักเรียนรู้ความหมายและเข้าใจการหา ห.ร.ม.

1. นักเรียนสามารถนำความรู้เรื่องห.ร.ม. ไปแก้ปัญหาในสถานการณ์ได้อย่างเหมาะสม

6. ภาระงาน/ชิ้นงาน

1. ใบงานเรื่อง การแก้ปัญหาจากสถานการณ์ที่กำหนดให้ได้อย่างเหมาะสม

2. งานกลุ่ม การเขียนแผนที่ความคิด (Mind Mapping) เรื่อง วิธีการหาตัวหารร่วมมาก

3. แบบทดสอบ เรื่อง การหา ห.ร.ม.

กระบวนการเรียนรู้

1) การแก้ปัญหา

2) การสื่อสาร การสื่อความหมาย และการนำเสนอ

3) สรุปเป็นความคิดรวบยอด

8 การวัดและประเมินผล

8.1 สิ่งที่ต้องการประเมิน

สิ่งที่ต้องการประเมิน

วิธีวัด

เครื่องมือวัด

1. ความรู้ความเข้าใจเรื่อง วิธีการหา ห.ร.ม.

1. ตรวจผลงาน

- แผนที่ความคิดเรื่องวิธีการหา ห.ร.ม. แบบต่างๆ

- แบบทดสอบเรื่อง การหา ห.ร.ม.

1. แบบประเมินผลงาน ความรู้ความเข้าใจ

- การเขียนแผนที่ความคิด เรื่องวิธีการหา ห.ร.ม.

- แบบทดสอบเรื่อง การหา ห.ร.ม.

2. ทักษะกระบวนการแก้ปัญหา (Problem – Solving) จากสถานการณ์ที่กำหนดให้ได้อย่างเหมาะสม

2. สังเกตพฤติกรรมและวัดกระบวนการแก้ปัญหาจากสถานการณ์ที่กำหนดให้ได้อย่างเหมาะสม

2. แบบประเมินทักษะกระบวนการแก้ปัญหา

- การสังเกต

- การวัด

3. พฤติกรรมคุณลักษณะที่พึงประสงค์

- ความรับผิดชอบ

- ความสามัคคี

- มีความกระตือรือร้นในการแสวงหาความรู้

4. สังเกตพฤติกรรมการทำงานเป็นกลุ่ม

4. แบบประเมินพฤติกรรมคุณลักษณะที่พึงประสงค์

- ความรับผิดชอบ, ความสามัคคี

, มีความกระตือรือร้นในการแสวงหาความรู้


9. กิจกรรมการเรียนรู้

คาบที่ 1

1. นักเรียนทราบบทนิยามของคำว่า ห.ร.ม. และ( จากสื่อการสอน ) ในคาบที่ผ่านมา

1) แบ่งนักเรียนออกเป็นกลุ่ม กลุ่มละ 6 คน ครูให้นักเรียนร่วมกันศึกษาใบความรู้ที่ครูแจกให้ เรื่อง วิธีการหา ห.ร.ม. ทั้ง 3 วิธี คือ การพิจารณาตัวประกอบ การแยกตัวประกอบ และการตั้งหาร ซึ่งครูได้อธิบายและสาธิตวิธีทำการหา ห.ร.ม. ให้นักเรียนแล้วในคาบที่ผ่านมา

2) นักเรียนแต่ละกลุ่มร่วมกันทำแบบทดสอบ เรื่อง ห.ร.ม.

3)เมื่อทำเสร็จให้แต่ละกลุ่มมาเอาเฉลยที่ครู

4)นักเรียนแต่ละกลุ่มช่วยกันสรุปเรื่องวิธีการหา ห.ร.ม. เป็นแผนผังความคิด ( Mind Mapping )

5)เมื่อทำเสร็จแล้วให้นำมาส่งครูเพื่อให้ครูชี้แนะและเพิ่มเติมในส่วนของเนื้อหาที่ขาด และให้นักเรียนทุกคนในกลุ่มคัดลอกสำเนา แผนผังความคิดที่ร่วมกันทำเก็บไว้อ่านเป็นของตัวเอง

คาบที่ 2

1) เข้าสู่บทเรียนเรื่อง ห.ร.ม.

2) ยกโจทย์ปัญหา ( จากหนังสือเรียนคณิตศาสตร์ ม.1 เล่ม 1 ) ซึ่งมีเนื้อหาดังนี้

2.2) ขาวสวนต้องการล้อมรั้วรอบที่ดินสี่เหลี่ยมผืนผ้าแปลงหนึ่งขนาด กว้าง 48 เมตร ยาว 76 เมตร โดยเสาทุกต้นต้องห่างเท่า ๆ กัน เป็นจำนวนต้นที่มีหน่วยเป็นเมตรทุกด้าน

2.3) ครูใช้เทคนิคคำถาม ถามนักเรียนว่าปักเสาแต่ละต้นให้ห่างกันเท่าไรได้บ้าง และห่างกันมากที่สุดกี่เมตร

2.4) ให้นักเรียนคิดวิเคราะห์ ความเป็นไปได้ของการแก้ปัญหานี้ พร้อมบอกเหตุผล

2.4.1) ชาวสวนทดลองปักเสาให้ห่างกัน 1 เมตร

2.4.2) ชาวสวนทดลองปักเสาให้ห่างกัน 2 เมตร

2.4.3) ชาวสวนทดลองปักเสาให้ห่างกัน 3 เมตร

2.4.4) ชาวสวนทดลองปักเสาให้ห่างกัน 4 เมตร

3) ครูบอกปัญหาให้กับนักเรียนว่าชาวสวนทดลองปักเสาให้ห่างกัน 1 เมตร 2 เมตร 3 เมตร ไปเรื่อย ๆ ซึ่งทำให้เสียเวลาในการทดลองมาก วิธีแก้ไขที่ดีที่สุดทางคณิตศาสตร์ คือการหา ห.ร.ม

4) นักเรียนและครูช่วยกันหาตัวประกอบของ 48 และ 76

5) นักเรียนยกตัวอย่างของตัวประกอบที่หาร 48 และ 76 ลงตัว แล้วถามนักเรียนว่า ตัวประกอบใด สามารถใช้เป็นระยะห่างของการปักเสาได้บ้าง และห่างกันมากที่สุดกี่เมตร พร้อมกับเฉลยคำตอบจากโจทย์ปัญหา

10. สื่อ/อุปกรณ์ และแหล่งการเรียนรู้

1) สื่อชุด สมบัติของจำนวนนับ

2) แบบทดสอบเรื่อง ห.ร.ม.

3) ใบงาน ผังความคิด Mind Mapping เรื่อง ห.ร.ม.

4) หนังสือเรียนคณิตศาสตร์ ม.1 เล่ม 1

11. กิจกรรมเสนอแนะ

...........................................................................................................................................

12. ข้อเสนอแนะของผู้ตรวจแผนการจัดการเรียนรู้

12.1 เป็นแผนการสอนที่

 ดีมาก ดี  พอใช้  ควรปรับปรุง

12.2 การจัดกิจกรรม

 ได้นำเอากระบวนการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญมาใช้ในการสอนได้อย่าง

เหมาะสม

 กระบวนการเรียนรู้ ยังไม่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ควรปรับปรุงพัฒนาต่อไป

12.3 รูปแบบเป็นแผนการสอนที่

 นำไปใช้ได้จริง

 ควรปรับปรุงก่อนนำไปใช้

12.4 ข้อเสนอแนะอื่นๆ

...........................................................................................................................................

...........................................................................................................................................

13. บันทึกผลหลังสอน

...........................................................................................................................................

...........................................................................................................................................